คิดจะะพัก-วันหยุดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้ไปท่องเที่ยวที่เมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เมืองโบราณที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานนับพันปี ผมเริ่มต้นด้วยการเดินชมโบราณสถานต่างๆ ภายในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ไม่ว่าจะเป็นปรางค์ศรีเทพ ปรางค์สองพี่น้อง และเขาคลังนอก โบราณสถานเหล่านี้ล้วนมีความสวยงามและน่าประทับใจ



เริ่มตันด้วยการการสักการะเจ้าพ่อศรีเทพเพื่อความเป็นศิริมงคล ศาลเจ้าพ่อตั้งอยู่ทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ตัวศาลมีลักษณะเป็นอาคารไม้ทรงไทยสองหลัง อาคารด้านหน้าใช้เป็นที่ประดิษฐานเจ้าพ่อศรีเทพ ส่วนอาคารด้านหลังใช้เป็นอาคารเอนกประสงค์
สำหรับองค์เจ้าพ่อนั้นเดิมได้ใช้ประติมากรรมรูปเคารพที่ได้จากเมืองโบราณศรีเทพมาประดิษฐานเป็นองค์สมมติ แต่ต่อมาประมาณปี พ.ศ. ๒๕๑๔ – ๒๕๑๕ องค์เจ้าพ่อนั้นได้ถูกโจรกรรมไป ประชาชนที่เคารพนับถือจึงได้แกะสลักองค์เจ้าพ่อขึ้นใหม่ตามจินตนาการและ ความเชื่อเพื่อใช้เป็นรูปเคารพประจำศาลเจ้าพ่อศรีเทพสืบมาจนเท่าถึงปัจจุบัน




อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพเป็นหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์จำนวน สิบแห่งของประเทศไทยปัจจุบันที่จัดตั้งขึ้นโดยกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม โดยจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๗ สำหรับชื่อเรียก“ศรีเทพ” นั้นเป็นการอนุโลมตามพระวินิจฉัยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งวิชาประวัติศาสตร์และโบราณคดีไทย ที่ได้ทรงสันนิษฐานไว้ในคราวเสด็จตรวจราชการมณฑลเพชรบูรณ์เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในปี พ.ศ. ๒๔๔๗



บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพในปัจจุบัน ประกอบไปด้วยสองส่วนด้วยกัน ส่วนแรกเป็นพื้นที่ในส่วนเมืองโบราณศรีเทพ ซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๒,๘๘๙ ไร่ หรือประมาณ ๔.๗ ตารางกิโลเมตร มีลักษณะเป็นเมืองที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบแบบเมืองในวัฒนธรรมทวารวดี ที่ยังคงสามารถรักษารูปแบบแต่เดิมไว้ได้อย่างสมบูรณ์มากที่สุดโดยไม่ถูกเปลี่ยนแปลงแห่งหนึ่งของประเทศไทย แบ่งพื้นที่ภายในเป็นสองเมืองที่นับได้ว่าเป็นลักษณะพิเศษเฉพาะที่พบไม่มากนักในเมืองร่วมสมัยเดียวกันที่พบในปัจจุบัน โดยเมืองในมีพื้นที่ประมาณ ๑,๓๐๐ ไร่ เป็นเมืองรูปเกือบกลมที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร มีช่องประตูเมือง ๖ ช่องทางและมีโบราณสถาน ซึ่งได้รับการขุดแต่งและบูรณะแล้วทั้งหมดประมาณ ๔๐ แห่ง อันมีโบราณสถานเขาคลังใน โบราณสถานปรางค์สองพี่น้องและโบราณสถานปรางค์ศรีเทพเป็นกลุ่มโบราณสถานสำคัญ รวมทั้งมีสระน้ำและหนองน้ำขนาดใหญ่จนถึงเล็กกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปประมาณ ๗๐ สระ ในขณะที่ เมืองนอกมีพื้นที่ประมาณ ๑,๕๘๙ ไร่ เป็นเมืองรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าต่อออกไปทางด้านทิศตะวันออกของเมืองใน

มีช่องประตูเมือง ๖ ช่องทางและมีโบราณสถานซึ่งส่วนใหญ่มีขนาดเล็กและยังไม่ได้มีการขุดแต่งและบูรณะทั้งหมดประมาณ ๕๔ แห่ง รวมทั้งมีสระน้ำขนาดใหญ่จนถึงเล็กกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปประมาณ ๓๐ แห่ง มีสระขวัญเป็นสระน้ำสำคัญที่มีขนาดใหญ่และตั้งอยู่กลางเมืองและ ส่วนที่สองเป็นพื้นที่ที่อยู่นอกเมืองโบราณศรีเทพ ซึ่งเท่าที่สามารถสำรวจได้ในปัจจุบันนั้นมีโบราณสถานที่ยังมิได้มีการขุดแต่งและบูรณะประมาณ ๕๐ แห่งและส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของเมืองโบราณศรีเทพ โดยมีโบราณสถานเขาคลังนอกที่เป็นสถาปัตยกรรมเนื่องในวัฒนธรรมทวารวดีเช่นเดียวกันกับโบราณสถานเขาคลังใน และโบราณสถานปรางค์ฤาษีที่เป็นสถาปัตยกรรมเนื่องในวัฒนธรรมเขมรเช่นเดียวกันกับโบราณสถานปรางค์สองพี่น้องและโบราณสถานปรางค์ศรีเทพ เป็นโบราณสถานสำคัญ

หลังจากเดินชมโบราณสถานจนเหนื่อยล้า ผมก็เดินไปซื้อไอศกรีมโบราณศรีเทพเพื่อดับร้อน ไอศกรีมโบราณศรีเทพมีให้เลือกถึง5-6 ลาย ทั้งลายรูปแบบคนแคระหน้าต่างๆ และลายดอกไม้ที่อยู่ตรงฐานเขาคลังใน และจะมี 5-6 รสชาติ มีทั้งรสชาไทย รสชานม รสมะพร้าว รสมะนาว เป็นต้น ส่วนราคาจำหน่ายก็แท่งละ 50 บาทรสชาติเข้มข้น หอมหวาน ละมุนลิ้น เข้ากับบรรยากาศของเมืองโบราณได้เป็นอย่างดี




ผมนั่งพักกินไอศกรีมโบราณศรีเทพอยู่ริมสระน้ำภายในเขาคลังใน บรรยากาศเงียบสงบ ร่มรื่น ลมพัดเย็นสบาย ช่างเป็นช่วงเวลาที่แสนผ่อนคลาย
ผมรู้สึกประทับใจกับการท่องเที่ยวเมืองศรีเทพเป็นอย่างมาก เมืองโบราณแห่งนี้มีความสวยงามและน่าค้นหา นักท่องเที่ยวสามารถเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของไทยได้อย่างลึกซึ้ง นอกจากนี้ ผมยังประทับใจกับไอศกรีมโบราณศรีเทพ ไอศกรีมที่มีรสชาติอร่อยและราคาไม่แพง เป็นอีกหนึ่งประสบการณ์ท่องเที่ยวที่น่าจดจำ

คำแนะนำ
สำหรับใครที่วางแผนจะไปเที่ยวเมืองศรีเทพ ผมขอแนะนำว่าควรเผื่อเวลาให้เพียงพอในการเดินชมโบราณสถานต่างๆ ภายในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ที่สำคัญคือควรแต่งกายสุภาพเมื่อเข้าชมโบราณสถาน และควรพกน้ำดื่มและหมวกมาด้วย เพราะอากาศอาจร้อนจัด

การเดินทางเข้าเยี่ยมชมอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพในปัจจุบันซึ่งมีระยะทางจากกรุงเทพมหานครประมาณ ๒๔๐ กิโลเมตรนั้น สามารถกระทำได้โดยสะดวกทั้งรถยนต์ส่วนตัวและรถโดยสารประจำทาง โดยเดินทางตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑ (กรุงเทพฯ – สระบุรี – เพชรบูรณ์) แล้วแยกขวาเข้าเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๑๑ หน้าที่ว่าการอำเภอศรีเทพ อีกประมาณ ๙ กิโลเมตรก็จะถึงอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ สำหรับรถโดยสารประจำทางก็จะมีทั้งรถโดยสารประจำทางปรับอากาศชั้น ๑ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศชั้น ๒ และรถโดยสารประจำทางธรรมดา จากสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต ๒ จตุจักร) ซึ่งวิ่งขึ้น – ล่องตลอดทั้งวัน แล้วลงที่ตลาดอำเภอศรีเทพ (บ้านกลาง) และต่อรถรับจ้างเข้าสู่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ
ขอบคุณ
ข้อมูลจาก กรมศิลปากร
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
นางสาวสุรีพร พงษ์พานิช ผู้อำนวยการกองตลาดภาคกลาง ททท.