คิดจะพัก-ก่อน Covid-19 แพร่ระบาด โลกของการศึกษาก็กำลังถูก Disruptionอย่างรุนแรง เป็นทั้งวิกฤติและโอกาส สถาบันการศึกษาปรับตัวกันอย่างเข้มข้นใครไม่ปรับ หรือปรับไม่ทันก็ไม่มีที่อยู่ที่ยืนกันไปเลยทีเดียว ไม่ทันไรโดนCovid เข้ามาถล่มอีก ทำให้การเรียนการสอนผ่านออนไลน์ (online learning)กลายเป็นปรากฎการณ์การศึกษาสมัยใหม่ไปแล้วดร.สุริยะใส กตะศิลา คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
กล่าวว่า ในฐานะนักวิชาการที่สอนหนังสือก็หนีไม่พ้นถูก disruptไปกับเขาด้วยจึงอยากแลกเปลี่ยนประสบการณ์การสอนผ่านออนไลน์ที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
ข้อดี
1. นักศึกษาเข้าเรียนเกือบ 100% ทุกคาบเพราะการเรียนในชั้นเรียนปกติมักจะพบปัญหานักศึกษาขาดเรียนหรือโดดเรียน สารพัดข้ออ้างจริงเท็จบ้างก็มี แต่พอเรียนออนไลน์แม้ป่วยไม่หนักหนาสาหัสก็ยังสามารถเปิดอินเตอร์เน็ตโปรแกรมเข้ารียนได้
2. เข้าเรียนตรงเวลามากขึ้น เพราะไม่ต้องเดินทางไม่มีความเสี่ยงเรื่องปัญหาจราจร พอถึงเวลาใครที่ยังไม่ log in
เข้ามาก็โทรถามไถ่ตามตัวได้ว่านักศึกษามีปัญหาอะไร
3. เรียนไปด้วย ช่วยงานที่บ้านไปด้วยก็ได้ หรือดูแลผู้ปกครองพ่อแม่ที่อาจจะป่วยอยู่ที่บ้านด้วย
4. ลดภาระค่าใช้จ่าย อันนี้แน่นอนครับไม่ต้องมาเช่าหอพักไม่ต้องเดินทางและไม่ต้องมากินข้าวนอกบ้านหรืออาจโดนเพื่อนชวนไปเที่ยวกันต่อก็ได้
5. กลับมาเรียนซ้ำ เรียนชดเชยได้เพราะทุกโปรแกรมออนไลน์สามารถบันทึกระหว่างเรียนไว้ได้เรียนแล้วไม่เข้าใจสามารถกดย้อนกลับมาดูได้คนที่ขาดเรียนก็มาเรียนย้อนหลังได้
6. อยู่ที่ไหนก็เรียนได้ ขอให้มีอินเทอร์เนต ช่วงไวรัส Covid-19แพร่ระบาดนักศึกษาบางคนไปเป็น อาสาสมัครช่วยชุมชนในจังหวัดต่างๆ
ก็ทำหน้าที่เป็นนักวิจัยเก็บข้อมูลมาเสนอให้เพื่อนที่อยู่จังหวัดอื่นได้เห็นได้ฟังสดๆกันไปเลยก็มี
7. กล้าและมั่นใจได้การแสดงความคิดเห็นมากขึ้นเพราะไม่ต้องแสดงตัวตน อากัปกิริยาหน้าชั้นเรียนหรือในห้องเรียน
ไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตนทั้งหมด
8. เชิญแขกหรือวิทยากรได้ง่ายและมีคุณภาพขึ้นเพราะเมื่อเป็นมนุษย์โชเชียล ก็ตอบรับคำเชิญง่ายแค่ log in เข้าโปรแกรม
ก็ทำหน้าที่เป็นวิทยากรได้เลยไม่ต้องจ่ายค่าวิทยากรหรือเสียเวลาเดินทางมาห้องเรียนด้วยซ้ำ
9. การสนับสนุนระหว่างเรียนคล่องตัวยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาก เช่น การเปิด slide powerpoint,
youtube ฯลฯ ประกอบการบรรยายทำได้ตลอดเวลา
10. บางวิชาผู้ปกครองขอนั่งเรียน นั่งฟังไปด้วย เป็น home schoolอีกรูปแบบหนึ่งก็ว่าได้ อันนี้ผมเจอมาแล้ว
นักศึกษาบางคนอาจารย์ครับผมขออนุญาตให้คุณพ่อคุณแม่นั่งฟังด้วยนะครับแคฟังไม่พอครับผู้ปกครองขอแลกเปลี่ยนด้วยก็สนุกและตื่นเต้นไปอีกแบบครับ
ข้อเสีย
1. ต้องเข้มงวด เช่น ต้องเปิดกล้องสดๆ ตลอดเวลาเพราะอาจมีบ้างที่นักศึกษาปิดกล้องโชว์รูปนิ่งแล้วหนีไปทำอย่างอื่นหรือไม่ตั้งใจเรียน2. การพัฒนาความสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์โดยตรงกับอาจารย์และเพื่อนๆ นักศึกษาทำได้ยากกว่า
3.อาจต้องจ่ายค่าซอฟต์แวร์ที่อัปเดตเพื่อเข้าถึงโปรแกรมออนไลน์หรือจ่ายเงินเพิ่มเพื่ออัปเกรดเป็นอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
หรือต้องพัฒนาทักษะในการใช้แต่ละโปรแกรมตลอดเวลา (technology skills)
4.ตรวจสอบความสงสัยและความเข้าใจของนักศึกษาอาจทำได้ยากกว่าเพราะในห้องเรียนสามารถกุมสภาพได้ละเอียดกว่าว่าใครทำหน้ามึนงง สงสัยหรืออยากถามแต่ไม่กล้าถาม
5. การสร้างแรงจูงใจ (motivation) ในห้องเรียนปกติทำได้ดีกว่ากระตุ้นได้ดีกว่าเพราะเป็นการเผชิญหน้ากันทำให้เห็นสภาพความพร้อมหรือไม่พร้อมของนักศึกษาแต่ละคนได้ละเอียดกว่า
เอาเข้าจริงข้อดีและข้อเสียอาจจะมีมากกว่าที่กล่าวมาซึ่งมาจากประสบการณ์โดยตรงเฉพาะตัวอย่างไรก็ตามที่สุดแล้วเราไม่ควรเลือกแบบใดแบบหนึ่ง ระหว่างการเรียน(online learning) กับการเรียนแบบปกติ (usual instruction)แม้แต่นักศึกษาจำนวนมากที่สอบถามก็ยังอยากมาเรียนที่มหาวิทยาลัยเพราะได้พบปะเพื่อน อาจารย์แบบ face to faceถ้าต้องเลือกก็ขอเลือกใช้แบบผสมผสาน (blended)
จะทำให้การศึกษายุด New normal มีคุณภาพทันสมัยและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเท่าทัน
บทความโดย: ดร.สุริยะใส กตะศิลา
คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต