คิดจะพัก-รอยัล ดีเอสเอ็มบริษัทยักษ์ใหญ่ผู้นำทางด้านเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ผลิตภัณฑ์โภชนาการและสุขภาพ เพื่อการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน ร่วมกับสตาร์บอร์ด ผู้นำทางด้านอุปกรณ์กีฬาทางน้ำระดับโลก ผู้ผลิตไม้พายกระดานโต้คลื่น วินเซิร์ฟ และไคท์บอร์ดประกาศความร่วมมือกันในการรวบรวมอวนประมงขยะจากท้องสมุทรอินเดียเพื่อนำไปเป็นรีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์รักษ์โลกต่างๆอาทิ ชิ้นส่วนของกระดานโต้คลื่น เพื่อลดปริมาณขยะตามชายหาดและลดมลพิษทางทะเลพร้อมส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับชุมชนในประเทศอินเดีย
ดีเอสเอ็ม และ สตาร์บอร์ดด้วยปณิธานในการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่สะอาดและระบบเศรษฐกิจปราศจากสิ่งเหลือใช้ (circular economy)
ได้ร่วมกันผลิตกระดานโต้คลื่นรักษาสิ่งแวดล้อมขึ้นเป็นครั้งแรกโดยกระดานโต้คลื่นดังกล่าวนี้ผลิตจากอวนประมงขยะเหลือใช้ทางทะเลจากมหาสมุทรอินเดียและทะเลอาหรับจากเทคโนโลยีขั้นสูงที่พัฒนาขึ้นโดยบริษัทดีเอสเอ็ม Akulon® RePurposedที่นำเอาวัสดุรีไซเคิลจากทะเลมาผลิตเป็นวัสดุเกรดโพลีเอไมด์ที่มีคุณสมบัติแข็งแรงและทนทาน มาใช้ในการผลิตกระดานโต้คลื่นและอุปกรณ์ต่างๆ รวมไปถึงอุปกรณ์ดำน้ำ อาทิครีบหาง กล่องใส่ครีบหาง เอสยูพีปั๊ม ตลอดจนชิ้นส่วนต่างๆของกระดานโต้คลื่น ภายใต้แบรนด์ NetPositive!
โดยสตาร์บอร์ด“ที่ ดีเอสเอ็มกลยุทธ์ของเราประกอบด้วยการพัฒนาโซลูชั่นและความร่วมมือเชิงนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ด่อเศรษฐกิจแบบครบวงจร ที่สอดคล้องกับเป้าหมายในการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN)เพื่อแก้ปัญหาการแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ ความขาดแคลนทางด้านทรัพยากร มลพิษ และ ขยะ
เรามองไกลไปกว่ารูปแบบการผลิตสินค้าในปัจจุบันที่เป็นการผลิตสินค้าแบบใช้แล้วทิ้งโดยพยายามเลียนแบบธรรมชาติและวงจรชีวิตให้ได้มากที่สุดอย่างเช่นความร่วมมือในครั้งนี้กับบริษัทสตาร์บอร์ดที่เราได้นำเอาขยะเหลือใช้จากทะเลกลับมาสร้างวัสดุที่มีมูลค่าสูงซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้งเมื่อหมดอายุการใช้งานของมัน” แมท เกรย์ผู้อำนวยการฝ่ายคอมเมอร์เชียล เอเชีย แปซิฟิก ดีเอสเอ็ม เอ็นจิเนียริ่ง พลาสติก กล่าว “หนึ่งในความภูมิใจสูงสุดในงานของเราก็คือความท้าทายในการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่นำไปสู่การพัฒนาที่ดีขึ้น” ซเวน แรสมูเซน ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ บริษัทสตาร์บอร์ดกล่าว “ด้วยความร่วมมือกับดีเอสเอ็มในครั้งนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงวิธีง่ายๆและรวดเร็วในการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตกระดานโต้คลืนรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นให้กับโลกของเราซึ่งเรามุ่งมั่นในการคิดค้นนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง”
ความร่วมมือในครั้งนี้นอกจากจะเป็นการกำจัดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมแล้วนั้น การจัดเก็บ คัดแยก ทำความสะอาดและแปรรูปอวนประมงที่ถูกทิ้งในทะเลนั้นยังเป็นการสร้างวิถีชีวิตที่ยั่งยืนให้กับชุมชนท้องถิ่นอีกหลายแห่งในประเทศอินเดียอีกด้วย
จากรายงานของสหประชาชาติ (UN) พบว่าขยะพลาสติกกว่าแปดล้านตันจะถูกทิ้งลงในมหาสมุทรก่อให้เกิดความเสียหายต่อสัตว์ที่อาศัยอยู่ในทะเลและการประมง ซึ่งสร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศทางทะเลไม่น้อยกว่าแปดพันล้านเหรียญสหรัฐและขยะจากอวนประมงนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาเหล่านี้นอกจากนี้องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP)ยังมีรายงานว่าขยะอวนประมงที่ถูกทิ้งไว้ในทะเลนั้นจะไม่ย่อยสลายไปและยังคงอยู่ในระบบนิเวศเป็นเวลาอีกหลายร้อยปีโดยผู้เชี่ยวชาญคาดว่าปัจจุบันนั้นมีขยะอวนประมงกว่า 640,000 ตัน ถูกทิ้งลงสู่ทะเล หรือเกือบ 10เปอร์เซ็นต์ของขยะพลาสติกในมหาสมุทรเลยก็ว่าได้
“ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นบทพิสูจน์ถึงความมุ่งมั่นในการเป็นผู้นำเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนของบริษัทดีเอสเอ็ม ซึ่งสอดคล้องกับกลยุทธ์และวิสัยทัศน์ในการดำเนินบริษัทเราหวังว่าความสำเร็จในการคิดค้นพัฒนานวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมของเราร่วมกับบริษัทสตาร์บอร์ดในครั้งนี้จะเป็นตัวอย่างที่ดีที่นำไปสู่ความร่วมมือกันในการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆเพื่อสิ่งแวดล้อมและระบบเศรษฐกิจแบบครบว
งจรให้กับสังคมสืบต่อไป” แมท เกรย์ ผู้อำนวยการฝ่ายคอมเมอร์เชียล เอเชีย แปซิฟิก ดีเอสเอ็ม เอ็นจิเนียริ่งพลาสติก กล่าว