จากนิยายรางวัลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด-สู่ละครดัง

คุณสุวิทย์ กิ่งแก้ว รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บมจ.ซีพี ออลล์ ผู้ก่อตั้งร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ในประเทศไทย เป็นประธานเปิดงานเสวนาพิเศษเซเว่นบุ๊คอวอร์ด หัวข้อ “จากนวนิยายรางวัลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด สู่ละครดัง” พูดถึงความเป็นมาของรางวัลเซเว่นบุ๊คอวอร์ดว่าคุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ที่อยากให้มีการประกวดหนังสือดีเด่นขึ้นมา ซึ่งประกวดกันมาเป็นปีที่ 15 แต่ว่าทำงานกันมา 16 ปีแล้ว ในปีแรกคลุกคลักนิดนึง แต่ช่วงหลังๆ ก็ประกวดกันมาทุกปี มีหนังสือนวนิยายหลายเล่มได้นำไปจัดทำเป็นภาพยนตร์บ้าง ละครทีวีบ้าง ทำให้นักเขียนโด่งดัง ตามที่ทราบกันดี ทั้ง กนกวลี ปราปต์ และรอมแพง

ทิศทางของผู้อ่านนวนิยาย

กนกวลี พจนปกรณ์ นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย นักเขียนรางวัลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ครั้งที่ 5 พูดถึงลักษณะการเขียน การอ่าน นวนิยายทั้งในอดีตและปัจจุบันว่า นวนิยายที่ผู้อ่านอยากได้คือความสนุก และสิ่งที่ผู้อ่านจะได้คือบริบทที่สอดแทรกอยู่ สำหรับการเขียนนวนิยายนั้นมีมานานแล้ว และมีพัฒนาการขึ้นมาเรื่อยๆ ซึ่งในอดีตการเขียนหรือพอล์ตต่างๆ จะธรรมดา แต่พอมาปัจจุบันจำนำเทคนิค และดิจิตอลเข้ามาช่วยให้มีความน่าสนใจมากขึ้น

 

จันทร์ยวีร์ สมปรีดา (รอมแพง) นักเขียนรางวัลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ครั้งที่ 7 เริ่มเป็นนักเขียนตั้งแต่ปี 2549 และเมื่อออกหนังสือออกมาเป็นรูปเล่มแล้วอยากเขียนนวนิยายย้อนยุคสักเรื่องอิงประวัติศาสตร์ เพราะว่าโดยส่วนตัวชอบอ่านหนังสือประวัติศาสตร์อยู่แล้ว (เป็นคนชอบนิยายมาตั้งแต่ 8 ขวบแล้ว อ่านเป็นเล่มๆ เลย) จึงเริ่มจากการตั้งชื่อหนังสือที่อยากให้เป็นแนว
โรแมนติกคอมเมดี้ จากนั้นก็หายุคหาเหตุการณ์ว่าจะให้อยู่ช่วงไหน เข้าห้องสมุด ไปตามแหล่งโบราณคดี …ที่มาของการเขียนเรื่อง บุพเพสันนิวาส (รักที่หายไปและกลับมา คือเป็นรักแต่ปางก่อน) ที่สอดแทรกเรื่องราวต่างๆ ไปเรื่อยๆ ที่ใช้ตัวเองเป็นหลักว่า ตัวเองอยากเป็นอะไร อยากทำอะไร ก็ให้เกตุสุรางค์เป็นอย่างนั้น … (แย้มว่าจะมีภาค 2 ของบุพเพสันนิวาส ตั้งชื่อว่า พรหมลิขิต หลังจากตอนจบของบุพเพสันนิวาสออกไปอีก 10 ปี ซึ่งเป็นรุ่นลูกที่อายุได้ 20 ปีพอดี)

 

 

ชัยรัตน์ พิพิธพัฒนาปราปต์ (ปราปต์) นักเขียนรางวัลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ครั้งที่12 จากผลงานนวนิยายเรื่อง “กาหลมหรทึก” บอกว่าเขียนเรื่องนี้ใช้เวลาเพียง 3 เดือน ในเขียนนวนิยายแนวสืบสวนสอบสวนโดยการอ้างอิงสถานที่จริงและเหตุการณ์จริงๆ ทางประวัติศาสตร์ ปี 2486 ซึ่งเขาได้ไอเดียในการเขียนเมื่อครั้งที่ไปต่างจังหวัดและได้ยินสกู๊ปทางวิทยุเรื่องกลโครงที่มีบันทึกไว้วัดโพธิ์ ตอนได้ยินเหมือนการแกะรหัสลับ จึงเป็นการจุดประกายตั้งแต่วันนั้น

 

 

ที่มาของนวนิยายสู่ละคร

เรื่อง “บุพเพสันนิวาส” มีที่มาจากการที่ผู้อ่านส่งอีเมล์ และโทรศัพท์ แนะนำไปที่โปรดิวส์เซอร์ของบรอดแคส ซึ่งทางบรอดแคสก็ให้ความสนใจและติดต่อไป นั่นเป็นที่มา

เรื่อง “กาหลมหรทึก” ปราปต์บอกว่า ได้รับการติดต่อจากคุณสิริลักษณ์ ศรีสุคนธ์ ผู้เขียนบทโทรทัศน์(ซึ่งทำหน้าที่เป็นโปรดิวเซอร์ด้วย) ปราปต์บอกว่าติดตามผลงานและชื่นชอบงานมานานแล้ว จึงตกลง … นั่นคือที่มา

ทิ้งท้ายสำหรับนักเขียนใหม่

กนกวลี บอกว่า การเขียนนวนิยาย ต้องมีแรงบันดาลใจ คิดพล็อต คิดฉากตัวละคร ใจความสำคัญของเรื่อง หาข้อมูล และเทคนิคสำคัญอยู่ที่หัวใจ ต้องเปิดใจรับฟัง และดู คนอื่นให้มากๆ

รอมแพง บอกว่า อยากเป็นนักเขียนต้องอ่านหนังสือเยอะๆ มีหนังสือคลังคำไว้อ่าน เพื่อจะได้ใช้คำ(คำศัพท์) ออกไปพบปะผู้คน เจอสังคม ดูภาพยนตร์และเที่ยว

ปราปต์ บอกว่า ทั้งหมดที่ 2 ท่านกล่าวมา เพิ่มเติมส่วนของตัวเองคือ ความรู้สึก โดยเอาความรู้สึกของตัวเองเป็นหลัก ถ้าเราสนุก คนอื่นก็สนุกด้วย

ลองเอาไปปรับดูนะ ใครอยากเป็นนักเขียนที่ยอดขายถล่มทลายแบบ 3 ท่านนี้

 

ผู้ชายหมายเลข7 มองโลกผ่านวิวไฟน์เดอร์ เจ้าของผลงานช่างภาพข่าวยอดเยี่ยม3รางวัล คลุกคลีกับวงการสื่อมามากกว่า30ปี

Leave a Reply